มีจริงไหม? ขาใหญ่! มะเขือยาว! “นักโทษหญิง”เปิดหมดเปลือก ชีวิตหลังลูกกรงทรมานตายทั้งเป็น! (รายละเอียด)

loading...







คุณรู้หรือไม่ว่า นักโทษหญิงที่อยู่ในคุกต้องพบเจออะไร? มะเขือยาวที่ร่ำลือเหมือนในภาพยนตร์ขัง 8 มีจริงหรือไม่? ขาใหญ่มาเฟียประจำคุก มีจริงหรือเปล่า? กระทู้นี้จะพาคุณไปไขความลับ ไขทุกคำตอบที่คุณอยากรู้เกี่ยวกับ “นักโทษหญิง”
น.ส.วิไลลักษณ์ แซ่อึ๊ง หรือ แอน วัย 31 ปี อดีตผู้ต้องขังหญิง เปิดใจกับทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ว่า ครั้งหนึ่งเธอเคยมีโอกาสเข้าไปอยู่ในทัณฑสถานหญิงกลาง ลาดยาว จากคดีครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย ซึ่งในครั้งนั้นศาลตัดสินให้เธอจำคุกนานถึง 11 ปี โดยหนึ่งปีแรก เธออยู่ที่ทัณฑสถานหญิงกลาง ส่วนปีต่อๆ ไปเธออยู่ที่ทัณฑสถานหญิง คลองไผ่
“วินาทีแรกที่เข้ามาในเรือนจำ เรามีหลากอารมณ์มาก ทั้งกลัว เครียด กังวล หดหู่ ถ้าต้องมายืนในจุดๆ นี้ คนเรามันต้องคิดแบบนี้ทุกคน ทั้งๆ ที่เราเข้าไปแล้ว มันก็ไม่ได้มีอะไรอย่างที่คิด แต่ก็อยู่ที่ว่า เราเข้าไปแล้ว เราจะไปเจอคนดี หรือคนเห็นแก่ตัว” อดีตผู้ต้องขังหญิง ถ่ายทอดประสบการณ์
แอน กล่าวถึงเพื่อนผู้ต้องขังท่านอื่นๆ ว่า จากการพูดคุยกับเพื่อนผู้ต้องขังที่อยู่ในเรือนจำเดียวกันนั้น เธอพบว่า ส่วนใหญ่จะกระทำความผิดในคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ถัดมาก็จะเป็นลักทรัพย์ และฉ้อโกง ซึ่งในส่วนของฉ้อโกงนั้น ผู้ต้องขังจะค่อนข้างมีอายุมากพอสมควร
“คดีฆ่าคนตาย จะมีไม่ค่อยมากนัก ซึ่งสายตาของผู้ต้องขังคนอื่นๆ ที่มองผู้ต้องขังในคดีฆ่าจะแตกต่างออกไป เพราะเราจะมองว่าคนที่มาจากคดีนี้น่ากลัว” แอน อดีตผู้ต้องขังหญิง เธอกล่าวจากความรู้สึก
ทั้งนี้ ผู้ต้องขังหญิงทุกคนจะต้องตื่นนอนเวลาตี 5 ทุกคนต้องเก็บที่หลับที่นอนให้เรียบร้อย โดยพับผ้าห่ม(ผ้าสักหลาดสีเทาผืนบาง) เอาไว้บริเวณริมห้องเรียงกันไปเป็นแนวยาว โดยผู้ต้องขังหญิงบางคนอาจจะเอาเศษผ้ามาปูทับไว้อีกทีหนึ่ง เพื่อจะได้แยกออกว่า ที่นอนที่วางเรียงกันไว้นั้น เป็นของผู้ต้องขังหญิงคนใด จากนั้น เวลา 06.00-07.00 น. ผู้ต้องขังทุกคนจะต้องอาบน้ำชำระล้างร่างกาย ถัดมาเวลา 08.00 น. เคารพธงชาติ สวดมนต์ และเข้าประจำหน่วยงาน ถัดมาเวลา 11.00-12.00 น. รับประทานอาหาร จากนั้น เข้าประจำหน่วยงาน ถัดมาเวลา 17.00-18.00 น. อาบน้ำ พร้อมเข้าเรือนนอน เตรียมตัวสวดมนต์
“หลังสวดมนต์เสร็จเรียบร้อย เขาจะเปิดทีวีให้ดู ซึ่งจะเป็นหนังเก่าๆ ซีรีส์เกาหลีเก่าๆ และจะไม่มีการเปิดดูช่องทีวีทั่วไปเหมือนคนภายนอกที่เลือกช่องได้โดยอิสระ เราจะไม่เคยรู้เรื่องราวภายนอกเลย มองออกไปก็เจอแต่กำแพง ความรู้สึกตลอดระยะเวลาที่อยู่ตรงนั้น คือ คิดถึงบ้านมากๆ คิดถึงบ้านสุดหัวใจ” แอน วิไลลักษณ์ จดจำความรู้สึกนั้นได้ดี
ดังนั้น สิ่งเดียวที่สามารถบรรเทาอาการเหงาคิดถึงบ้านได้ก็คือ การเขียนจดหมาย ซึ่งทางเรือนจำจะมีข้อกำหนดไว้ว่า ผู้ต้องขังมีสิทธ์ที่จะเขียนจดหมายส่งถึงบุคคล 5 ท่านเท่านั้น ดังนั้น ผู้ต้องขังห้ามเขียนส่งถึงคนอื่นใดนอกจาก 5 รายชื่อที่ได้กำหนดเอาไว้ก่อนหน้านี้แล้ว และจะเขียนได้แค่สัปดาห์ละ 1 ฉบับเท่านั้น
“เวลาที่ญาติมาเยี่ยมในทัณฑสถานหญิงกลาง นั้น จะมีโอกาสเจอกันประมาณ 10-15 นาที ส่วนทัณฑสถานหญิง คลองไผ่ จะมีโอกาสเจอกันประมาณ 20-30 นาที โดยพูดกันผ่านโทรศัพท์และกระจกกั้น ซึ่งญาติสามารถมาเยี่ยมได้ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ในแต่ละวันเราจะนั่งลุ้นว่า วันนี้เราจะมีญาติมาเยี่ยมไหม ถ้าเวลาผ่านไปจนเลยกำหนดเยี่ยม เราก็จะมานั่งคิดๆ หาเหตุผลว่า ที่ญาติๆ ไม่มาเยี่ยมไม่ใช่เขาไม่สนใจ แต่อาจเป็นเพราะเขาไม่ว่าง หรือไม่มีเงินก็เป็นได้” วิไลลักษณ์ อดีตผู้ต้องขังหญิง กล่าวถึงสิ่งที่ผู้ต้องขังทุกคนคิดคำนึง
คำกล่าวที่ว่า เวลาในคุก 1 วันเหมือน 1 เดือน 1 เดือนเหมือน 1 ปี อันนี้จริงเท็จอย่างไร? ผู้สื่อข่าวถามอดีตผู้ต้องขังหญิง เธอตอบสั้นๆ ชนิดจดจำความรู้สึก ณ เวลานั้น ได้ดีว่า “จริงนะ กว่าเวลาจะผ่านไปได้แต่ละชั่วโมง มันนานแสนนานมาก ตอนเช้าๆ อาบน้ำเสร็จเรียบร้อย เราจะมานั่งคิดว่า เมื่อไหร่วันนี้มันจะหมดๆ ไป และวันที่เราจะได้ออกไป เมื่อไหร่จะมาถึง”
ภาพในหัวของใครหลายๆ คนอาจมองว่า ในเรือนจำอาจจะต้องมีมาเฟีย หรือมีแก๊งต่างๆ รวมตัวกันวางอำนาจข่มขู่คนอื่น ซ้ำร้ายไปถึงขั้น มีการใช้มะเขือยาวเพื่อทำภารกิจบางประการด้วย ข้อเท็จจริงในเรื่องราวเหล่านี้เป็นอย่างไร? ผู้สื่อข่าวถาม แอน อดีตผู้ต้องขัง
“ไม่มีนะคะ จะมีก็แต่ในภาพยนตร์เท่านั้นแหละค่ะ ตอนแรกก่อนที่เราจะเข้าไป เรากลัวมากๆ เพราะภาพในหัวของเราคิดเอาไว้ก่อนว่า จะต้องเข้าไปเจอคนที่ซ่าๆ เปรี้ยวๆ อยู่ข้างใน หรืออาจจะมีคนที่ใช้มะเขือยาวกับผู้ต้องขังคนอื่นๆ เหมือนในหนังเรื่องขัง 8 หรือเปล่า แต่พอเข้าไปแล้ว มันไม่มีอะไรอย่างที่เราคิดไว้เลย หากเราไม่ไปด่า หรือไปยุแหย่อะไรใคร เราก็จะไม่มีเรื่อง” เธอกล่าวตามประสบการณ์
“ส่วนเรื่องหัวโจกนั้น ตามธรรมดาของคนที่อยู่มาก่อน เขาก็จะรู้ทุกซอกทุกมุม คนที่เข้ามาทีหลังก็จะเกรงไปเอง เพราะบางคนจะมีความเป็นผู้นำ และปฏิบัติตัวน่าเคารพ ส่วนเรื่องตบตีก็อาจจะมีบ้าง เช่น เวลาเข้าแถวรับข้าว บางคนอาจจะไปเบียด ไปแซงคิวคนอื่นก็อาจจะทำให้มีการด่ากัน หรือตบกันบ้าง แต่ถ้ามีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ก็จะเข้ามาประชิดตัวทันที พร้อมกับสั่งทำโทษผู้ต้องขัง หากเป็นโทษเบา ก็คือ สั่งให้กินข้าวหลังสุด แต่ถ้าเป็นโทษแรง ก็จะสั่งให้ไปลอกท่อขี้รอบเรือนจำ ส่วนการนำกระบองมาตีผู้ต้องขังนั้น เราไม่เคยเจอ” แอน บอกเล่าไปตามสิ่งที่เธอเคยพบเจอ




การนอนของผู้ต้องขังหญิงนั้น จะค่อนข้างร้อนและแออัดมาก ซึ่งทางเรือนจำจะมีผ้าสักหลาดสีเทาให้กับผู้ต้องขังคนละหนึ่งผืน บางเรือนจำจะไม่มีหมอนให้ แต่จะมีเพียงผ้าอีกผืนหนึ่งให้เราพับ เพื่อมาหนุนหัว หากเป็นห้องที่มีขนาดใหญ่ ก็จะมีผู้ต้องขังนอนด้วยกันมากถึงหลักร้อยคน หากเป็นห้องที่มีขนาดเล็ก ก็จะมีผู้ต้องขังนอนรวมกันราวๆ 20-40 คน
“เวลานอนผู้ต้องขังหญิงทุกคนจะนอนชิดกัน ไหล่ชนกัน นอนดันๆ กัน ยิ่งถ้าเป็นฤดูร้อน จะร้อนมาก นอนไม่ได้ กระสับกระส่ายเลย ถ้าเป็นฤดูหนาวก็จะหนาวมาก ซึ่งทัณฑสถานหญิง คลองไผ่จะหนาวขนาดที่ว่า ควันออกปากเลยทีเดียว” อดีตผู้ต้องขังหญิง บอกเล่าจากประสบการณ์ที่เธอเคยอยู่มาสองเรือนจำ





แอนยังบอกเล่าถึงสิ่งที่เข็ดหลาบที่สุดในชีวิตอีกว่า สิ่งที่ผู้ต้องขังทุกคนต้องเจอก็คือ ความแออัดและความสกปรก เพราะคนนับร้อยชีวิตต้องใช้ห้องน้ำ ห้องส้วม ห้องนอนห้องเดียวกัน ตนไม่อยากมาอยู่ในจุดๆ นี้อีกแล้ว
“ห้องน้ำเป็นบล็อกสูงเท่าหัวเข่า ไม่มีประตู ถ้าเราเข้าไปนั่งส้วม คนอยู่ด้านนอกด้านในก็จะเห็นกันหมด ซึ่งตามหน่วยงานต่างๆ (หน่วยงาน จะอยู่ใต้เรือนนอน โดยภายในหน่วยงานจะมีกิจกรรมให้ทำ เช่น เย็บผ้า, เสริมสวย เป็นต้น) จะมีส้วมประมาณ 4-5 บล็อก บางทีส้วมก็เต็ม หรือราดไม่ลงบ้าง คิดดูจะสกปรกแค่ไหน ส่วนตอนอาบน้ำ จะอาบทีละ 20 คน โดยยืนรอบอ่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขันคนละใบตักราดตัวเอง ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่คอยเป่านกหวีดบอกให้ตัก 3 ขันแรก เมื่อครบ 3 ขันก็จะเป่านกหวีดสั่งหยุด ใครจะสระผม ล้างหน้า ฟอกสบู่อะไรก็ทำเวลานี้เลย และ 7 ขันสุดท้ายผู้ต้องขังต้องล้างให้หมด เพราะเจ้าหน้าที่เขาจะบังคับให้อาบ 10 ขันเท่านั้น หลังนกหวีกเป่าจบ ห้ามแอบลักไก่ตักมาอาบเพิ่มอย่างเด็ดขาด” แอนบอกเล่าอย่างละเอียด
“น้ำที่ผู้ต้องขังตักอาบก็จะไหลไปทั่วบริเวณ คาบเหงื่อไคลของแต่ละคนก็ไหลไปตามสายน้ำด้วย บางคนเป็นประจำเดือน เลือดก็จะไหลไปกับน้ำ เพราะฉะนั้น เราต้องสังเกตและหลบให้ดี” เธอเล่าละเอียดยิบชวนขนลุก
“อยู่ในนั้นต้องสะอาดนะบอกเลย ถ้าถอดรองเท้าเดินนิดเดียว คุณจะคัน เป็นผื่น เป็นตะมอย (เม็ดใสๆ คันๆ) แน่ๆ เพราะฉะนั้น ในเรือนจำจะสกปรกขนาดไหนคุณลองคิดดู หากคุณเข้าห้องน้ำแล้วไม่เอาสบู่ล้าง เดี๋ยวตะมอยถามหาเลยจ้ะ ซึ่งคนในคุกจะรู้จักกันดีเลยว่า ตะมอย คืออะไร และอิทธิฤทธิ์มันเป็นอย่างไร” อดีตผู้ต้องขังหญิงรุ่นพี่ บอกเล่าจากประสบการณ์
ทั้งนี้ ในเรือนจำจะมีร้านค้าที่มีลักษณะเหมือนร้านชำคอยให้บริการอยู่ภายใน ซึ่งสินค้าด้านในจะมีตั้งแต่ครีมทาผิว ครีมทาหน้า เครื่องสำอาง ขนมนมเนย น้ำยาอุทัย โดยราคาของสินค้าภายในเรือนจำ จะมีราคาค่อนข้างแพงกว่าสินค้าทั่วไปราวๆ 10-20 บาท
ขณะเดียวกัน ผู้ต้องขังหญิงจะไม่มีเงินสดติดตัว แต่จะมีบัญชีที่ให้ญาตินำเงินเข้ามาใส่เอาไว้ในบัญชีนั้นๆ ได้ เสมือนเงินฝาก ซึ่งมีกฎเกณฑ์กำหนดไว้ว่า ในแต่ละวัน ผู้ต้องขังหญิงจะต้องใช้เงินในบัญชีไม่เกิน 200 บาทต่อวัน
“เราเคยถูกส่งไปอยู่ในแดนพิเศษที่เรียกว่า แดนสูตกรรม แดนนี้มีหน้าที่หมุนเวียนกันไปทำอาหาร ซึ่งจะมีเวลาตื่นนอน ไม่เหมือนกับแดนอื่น นั่นก็คือ จะต้องตื่นตอนตี 3 และต้องแบกกระสอบข้าวที่มีน้ำหนัก 50 กิโลกรัมให้ได้ ตอนนั้น คือเราน้ำตาตกเลย นึกถึงที่บ้าน ฟุ้งซ่านไปหมด แต่มาถึงจุดนี้ เราก็ต้องทำให้ได้ ใน 1 เดือนจะลงกระสอบข้าวประมาณ 1-2 ครั้ง ข้าวมีประมาณ 100 กระสอบ ผู้ต้องขังในแดนนี้จะต้องแบกให้ได้ หากแบกท่าผิดก็อาจจะทำให้คอหักได้” วิไลลักษณ์ กล่าวถึงชะตากรรมที่เธอจะไม่มีวันลืมเลือน
“ส่วนผสมของอาหารก็จะเป็นเนื้อไก่สีแดงๆ เป็นกระดูกแดงๆ เป็นหมูเหนียวๆ ไม่เหมือนที่คนข้างนอกกิน ผักก็มีมะเขือ มะเขือยาว กะหล่ำปลี ผักบุ้ง กวางตุ้ง ของหวานก็จะมีเป็นบางวัน รสชาติพอกินได้ ไม่ถือว่าอร่อย เพราะถูกจำกัดด้วยปริมาณเครื่องปรุง และไม่มีผงชูรสใดๆ ทั้งสิ้น” อดีตผู้ต้องขังหญิง บอกเล่าถึงอาหารอันแสนจืดชืด
ส่วนกระทะที่เอาไว้ใช้ทำอาหารของที่นี่จะมีขนาดใหญ่มาก ประมาณ 3 คนโอบ ส่วนอุปกรณ์ในการผัดก็คือ พลั่วที่เอาไว้ตักดินตักทราย ซึ่งถูกประยุกต์ใช้เป็นตะหลิว
“ถ้าหากใครจะกินมาม่า ก็ไม่ใช่ว่าจะได้กินร้อนๆ เหมือนตอนอยู่นอกเรือนจำ ถ้าอยากกินก็ต้องเอามาม่ามาบี้ให้แหลก จากนั้นก็ใส่น้ำเย็นลงไป แล้วก็ผูกหูถุงรอเส้นมาม่าอืด หรือถ้าอยากกินเป็นขนม คนที่นั่นเขาก็จะเอามาม่ามาทุบ จากนั้น ก็ใส่นมข้นลงไป กินเหมือนโรตีกรอบ รสชาติ ณ ตอนนั้นก็อร่อยดี” อดีตผู้ต้องขังหญิงบอกเล่าถึงเมนูที่ถูกประดิษฐ์คิดค้นขึ้นภายในเรือนจำ
ในเรือนจำจะมีคู่รัก หญิง-ทอม กับ หญิง-แมน ซึ่งลักษณะของทอมก็จะเป็นเหมือนทอมทั่วไปที่อยู่ภายนอกเรือนจำ แต่ในส่วนของแมนจะมีลักษณะที่ห้าวและมีความเป็นผู้ชายมากกว่าทอมสักเล็กน้อย
“บางทีผู้ต้องขังหญิงบางคนก็ตบตีกัน เพื่อแย่งทอม บางทีคู่รักทอมหญิงก็แอบกุ๊กกิ๊กกันระหว่างทำงานด้วย แต่ถ้าเจ้าหน้าที่เห็นจะถือว่า ทำผิด และต้องได้รับโทษ หรือถ้าหากว่าคนที่เป็นคู่รักได้นอนใกล้กัน แต่ไปรู้ถึงหูเจ้าหน้าที่ ทางเจ้าหน้าที่เขาก็จะจับแยกไม่ให้นอนติดกัน” แอน วิไลลักษณ์ กล่าวถึงความรักที่เธอได้พบเจอจากชีวิตหลังลูกกรง
ขอบคุณข้อมูลจาก : thaijobsgov.com/jobs/132712



0 comments:

Post a Comment